ระบบสายพานลำเลียง
Belt Conveyor System
Belt Conveyor System
ระบบสายพานลำเลียง (Belt
Conveyor) คือ อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor) ที่ใช้สายพาน
(Belt) เป็นตัวนำพาวัสดุ
ระบบสายพานลำเลียงทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
หลังจากวัสดุหรือชิ้นงานผ่านกระบวนการตามขั้นตอนมา
เมื่อมาถึงการขนย้ายหรือลำเลียงก็จะใช้ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor
System) ในการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือชิ้นงาน
ดังนั้น ระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับ
โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต
ระบบสายพานลำเลียง
(Belt
Conveyor System) มี 4 ประเภท
1.
ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)
ระบบสายพานลำเลียง Plastic
Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)
สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุขึ้นในแนวลาดเอียง
ในไลน์การผลิตที่มีการลำเลียงต่างระดับ ระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก
สามารถลำเลียงผ่านน้ำหรือลำเลียงชิ้นงานที่เปียกได้ และยังไม่เป็นสนิท
ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง
โดยการลำเลียงจะมีลักษณะแนวลาดเอียง ลำเลียงจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง
องศาลาดเอียงของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะเริ่มตั้งแต่ 10องศา และไม่เกิน 45องศา เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง
, อาหาร , บรรจุภัณฑ์หีบห่อ หรือ
ลำเลียงสิ่งของที่ต้องผ่านเครื่อง X-Ray
2. ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ)
ระบบสายพานลำเลียง Canvas
Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุ
ระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบ
สามารถทนความร้อนได้และมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อรับแรงดึง
ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบจะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง
โดยสามารถขยับตัวระบบลำเลียงให้ตรงกับไลน์การผลิตได้
เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร เป็นต้น
3. ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC)
ระบบสายพานลำเลียง PVC
Belt Conveyor System (แบบ PVC) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุที่มีน้ำหนักเบา
ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC สามารถทนความร้อนได้และราคาถูก
ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง
เหมาะสำหรับงานลำเลียงในอุตสาหกรรมอาหาร
สินค้าที่บรรจุหีบห่อที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาด
4.
ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System
ระบบสายพานลำเลียง Metal
Detector Belt Conveyor System (เครื่องตรวจหาโลหะ)
มีระบบสายพานลำเลียง 2 แบบ คือ 1.แบบพลาสติก
2. แบบ PVC สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุเข้าเครื่องตรวจหาโลหะ หลังจากชิ้นงานหรือวัสดุผ่านกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ มาแล้ว เมื่อมาถึงเครื่องตรวจหาโลหะ ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์หรือรูปแบบชิ้นงาน เช่น ซองพลาสติก กล่องกระดาษ ขวดแก้ว ยาง เครื่องตรวจหาโลหะใช้พลังงานแม่เหล็ก โดยทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก (Electro Magnetic Field) เมื่อมีโลหะ เช่น เหล็กปนอยู่ในแผ่นยาง เครื่องจะทำการแจ้งเตือนในรูปแบบต่างๆ เช่น ร้องเตือน ผลักออก หรือหยุดเครื่อง
--------------------------------------------------------
2. แบบ PVC สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุเข้าเครื่องตรวจหาโลหะ หลังจากชิ้นงานหรือวัสดุผ่านกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ มาแล้ว เมื่อมาถึงเครื่องตรวจหาโลหะ ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์หรือรูปแบบชิ้นงาน เช่น ซองพลาสติก กล่องกระดาษ ขวดแก้ว ยาง เครื่องตรวจหาโลหะใช้พลังงานแม่เหล็ก โดยทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก (Electro Magnetic Field) เมื่อมีโลหะ เช่น เหล็กปนอยู่ในแผ่นยาง เครื่องจะทำการแจ้งเตือนในรูปแบบต่างๆ เช่น ร้องเตือน ผลักออก หรือหยุดเครื่อง
--------------------------------------------------------
รถ
AVG
รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ
( AGV )
เป็นรถที่มีการขับเคลื่อนโดยไม่มีคนขับ
เคลื่อนไปตามทางบนเส้นลวดที่ฝังไว้ใต้พื้นของโรงงาน สามารถควบคุมเส้นทางเดินของรถได้โดยคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันมีการใช้อัลกอริทึม (algorithms)
หลาย ๆ
แบบเพื่อการคำนวณเส้นทางของลวดที่จะฝังลงบนพื้นและคำนวณเส้นทางที่น่าพอใจที่สุดของรถจากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดหมาย เส้นทางที่กล่าวถึงอาจเป็นแบบแสง (passive fluorescent) หรือแบบแม่เหล็ก (magnetic line) ถูกทาสีบนพื้นหรือการใช้ลวดนำทาง
(active guide wire) ฝังไปในพื้น
ส่วนประกอบของการนำทางของ AGV
ประกอบด้วยตัวนำทิศทางระบบซึ่งปล่อยรถออกและควบคุมการนำทาง
การติดต่อกับรถทำได้โดยลวดนำทางซึ่งฝังไว้ใต้พื้น ตัวนำระบบถูกติดต่อกับรถทั้งหมดตลอดเวลา
แต่ละคันมีความถี่นำทางของมันเองและตามลวดนำทางไปกับการช่วยของตัวตรวจรู้ (sensor)
ความถี่การติดต่อระดับสูงกว่าถูกใช้สำหรับการถ่ายทอดข้อมูลระหว่างตัวนำระบบกับแผงคอมพิวเตอร์
(on-board computers) ดังนั้นตัวนำระบบจะได้รับการแจ้งตลอดเวลาเกี่ยวกับตำแหน่งและสภาวะของการยกของรถ ตำแหน่งของรถสามารถแสดงได้บนสถานี (terminal)
วัสดุซึ่งอยู่บนรถถูกกำหนดโดยการอ่านสัญลักษณ์บาร์โค๊ด (bar
code) และข่าวสารถูกถ่ายทอดไปโดยช่องของข้อมูลไปยังตัวนำระบบ การเดินทางของรถทั่วทั้งโรงงานถูกกำหนด ณ
จุดยุทธศาสตร์เนื่องจากผลตอบสนองในพื้นและตัวรับในรถ ณ
จุดที่กำหนดรถได้รับคำแนะนำในการติดตามเส้นทางที่ให้ไว้ หน้าที่ที่จำเป็นของตัวนำระบบมีดังนี้
1.
การเลือกของรถและการจัดการกับรถที่ว่าง
2. การควบคุมของการจัดสรรลำดับของรถ
3. การเก็บข้อมูลของตัวขนถ่าย
4. การควบคุมของทิศทางที่ถูกต้อง
การกระจายรถแบบอัตโนมัติโดยคนขับ
การปฏิบัติการด้านการผลิตกำลังต้องการระบบการขนถ่ายวัสดุที่คล่องแคล่วอย่างสูง
จึงมีบ่อยครั้งที่มีการใช้รถที่มีคนขับ
เช่น รถยกปากซ่อม
รถเหล่านี้สามารถที่จะถูกพัฒนาได้อย่างเต็มที่เพื่อให้มีความยืดหยุ่นสูงกับการช่วยของสถานี
(terminal)
ที่เคลื่อนที่ได้ ซึ่งถูกติดต่อโดย วิทยุ หรือ แสงอินฟาเรด เชื่อมไปยังคอมพิวเตอร์
สองวิธีของการควบคุมการปฏิบัติการปล่อยรถถูกใช้คือตัวรับและตัวส่งการปฏิบัติงานด้วยเสียง
(voice operated receiver / transmitters) หรือสถานีคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ได้
(portable computer terminals) วิธีการที่จะให้รถออกจากที่เก็บของมันถูกจัดการโดยคอมพิวเตอร์ควบคุมซึ่งมีอัลกอริทึมในการหาเส้นทางที่น่าพึงพอใจมากที่สุด
(optimization algorithm) เพื่อลดระยะทางการเดินทางโดยรถ
รถสำหรับการเคลื่อนวัสดุแบบอิสระ
ในปัจจุบันความพยายามได้เริ่มในการพัฒนารถที่เป็นอิสระสำหรับการเคลื่อนย้ายวัสดุ
มันเป็นไปได้ที่จะสร้างโรงงานการผลิตที่มีความยืดหยุ่นสูงมาก
แต่ละการรวมกันของเครื่องมือเครื่องจักรอาจจะถูกเชื่อมต่อกันตามแนวความคิดทางการผลิตที่เป็นจริง
ระบบอิสระเป็นความสามารถในการวางแผนและบริหารตามงานที่ให้ไว้
เมื่อการวางแผนงานสามารถทำได้แล้วการบริหารก็สามารถที่จะเริ่มได้ ระบบตัวตรวจรู้ (sensor)
แบบซับซ้อนถูกกระตุ้นซึ่งนำและแนะนำการเดินทางของรถ
มันเป็นสิ่งจำเป็นในการเข้าใจและแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยใช้การช่วยเหลือของระบบฐานข้อมูลที่ใส่ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบพื้นฐานของรถประสิทธิภาพสูงแบบอิสระมีดังนี้
1. ระบบกลไกและการขับ (Mechanics and
drive system)
2. ระบบการตรวจรู้ (Sensor system)
- ตัวตรวจรู้ภายใน (internal sensors)
- ตัวตรวจรู้ภายนอก (external sensors)
3. ตัวนำทางและตัววางแผนการเดินทาง (Planner and
navigator)
- ตัววางแผน (planner)
- ตัวนำทาง (navigator)
- ระบบชาญฉลาด (expert
system)
-
อัลกอริทึมที่ใช้ในการควบคุม (knowledge base)
-
ความรู้เกี่ยวกับข้อมูล (data
knowledge)
4. โมเดลการทำงานทั่วไป (World model)
- ส่วนคงที่ (static
component)
- ส่วนไดนามิก (dynamic
component)
5. ระบบคอมพิวเตอร์ (The
computer system)
รถขับเคลื่อนอัตโนมัติต้องมีความสามารถต่างๆดังต่อไปนี้
1. การวางแผนและเตรียมการแบบอิสระของหลักสูตรของการปฏิบัติตามงานที่ให้ไว้
เช่น การขนส่ง ชิ้นงานจากสถานที่เก็บไปยังเครื่องมือเครื่องจักร
2.
การบริหารการวางแผนและการตรวจเป็นอิสระของหลักสูตรการปฏิบัติ
3.
ความเข้าใจในสภาพแวดล้อมกับการช่วยของตัวตรวจรู้ (sensors) และการแปลความหมายของผลลัพธ์
4.
ปฏิกิริยาเป็นอิสระในการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่เคยเห็น เช่น ถ้ารถเจอวัตถุที่ไม่เคยเห็นเข้ามาในเส้นทางของมัน
รถต้องสามารถที่จะเข้าใจและหลีกเลี่ยงมัน
5. การเรียนแบบ passive
และ active รถต้องสามารถเรียนจากงานที่มันทำเพื่อที่จะพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานของมัน
รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ
กระบวนการทำงานของรถ AGV
แบบกึ่งอัตโนมัติ
1.
พนักงานประจำสถานีงานกดสัญญานแจ้งความต้องการชิ้นส่วนไปยังคลังชิ้นส่วนด้วยระบบ e-kanban
2. ข้อมูลจากระบบ e-kanban
จะไปปรากฏที่คลังชิ้นส่วน
3.
พนักงานจัดชิ้นส่วนซึ่งอยู่ในกระบะขึ้นรถพ่วงของรถ AGV
4. รถ AGV วิ่งไปส่งชิ้นส่วนที่สถานีงาน
5.
พนักงานประจำสถานีงานทำการแลกเปลี่ยนกระบะ (box) เปล่ากับกระบะที่มีชิ้นส่วน
6. รถวิ่งกลับไปยังคลังชิ้นส่วน
เนื้อหาน่าอ่านดีมาก
ตอบลบเนื้อหาน่าอ่านดีมาก
ตอบลบเนื้อหาครบถ้วน
ตอบลบ